การเช่าหลักทรัพย์หรือการประกันตัว

ในการเช่าหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหานั้นท่านเองก็จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมเอกสารต่าง ๆ และมีละเอียดเงื่อนไขหลายเรื่องที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้และเข้าใจเพราะว่ามันมีผลต่อการทำงานของเราและมีผลต่อสภาพของตัวท่านเองไม่ใช่เรื่องล้อเล่นแต่เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องวางแผนการทำงานภายใต้แรงกดดันวัตถุประสงค์เดียวต้องการให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกท่านนั้นมีอิสรภาพนั่นเอง

ในกรณีที่ท่านต้องการรับประกันตัวผู้ต้องหา ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในชั้นสอบสวนท่านควรมีหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ นั่นคือ
1. บัตรประจำตัวประชาชน(ซึ่งทางราชการออกให้หน้าสำนักงานอำเภอหรือเขตต่าง ๆ)

2. หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกันได้แก่
2.1 เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น เงินตราของต่างประเทศไม่รับ)
2.2 โฉนดที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาเรียบร้อยแล้ว
2.3 หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาเรียบร้อยแล้ว
2.4 พันธบัตรรัฐบาล
2.5 สลากออมสินและสมุดฝากเงินธนาคารประเภทฝากประจำ(เช่นธนาคารกรุงเทพ , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารออมสิน)
2.6 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
2.7 หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน

3 ในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหามการจดทะเบียนสมรส จะต้องทำหนังสือแสดงการ อนุญาตจากสามี หรือ ภรรยา (คู่จดทะเบียนสมรส)แล้วแต่กรณีไปด้วย


วิธีการดำเนินการ
1. ให้ญาติผู้ต้องหา ซึงที่มาขอรับประกันตัวผู้ต้องหา พบและยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้น
2. หากไม่อาจเขียนคำร้องประกันได้เองให้ร้องขอต่อ พนักงานสอบสวน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ช่วยเขียนคำร้องให้ก็ได้
3. เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องแล้ว ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันตัว ซึ่งต้องลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
4. เจ้าพนักงานจะพิจารณาแจ้งผลการสั่งคำร้องให้ญาติผู้ต้องหาทราบ

สำหรับกรณีการใช้บุคคลเป็นประกัน
คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 622/2536 ลงวันที่ 15 เมษายน 2536 เรื่อง การใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว
กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีนโยบายอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการใช้บุคคลเป็นประกันตัวหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวให้ผู้ต้องหา ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 110 และ มาตรา 114 วรรคสอง
(การใช้บุคคลเป็นประกันตัวผู้ต้องหาเพื่อ ทำให้การรับประกันตัวนั้น มีความเป็นไปได้มากขึ้นสำหรับบางท่านซึ่งอาจจะไม่มีหลักทรัพย์เป็นของตนเองแต่ มีญาติพี่น้องหรือบุคคลใกล้ชิด ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกันตัวได้)

บุคคลที่ประกันตัวผู้ต้องหาได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท
-ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 ถึง 8
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ที่มียศตั้งแต่พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท หรือพันตำรวจโท ถึงพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอก
- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่ ชั้น 1 ถึง 2
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันกับข้าราช การประจำ

บุคคลที่ประกันผู้ต้องหาได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 ถึง 10 หรือข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกหรือพันตำรวจเอก ที่ได้รับอัตราเงินเดือนพันเอก (พิเศษ) นาวาเอก (พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือ พันตำรวจเอก (พิเศษ)ถึงพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือพลตำรวจตรี
- ข้าราชการตุลาการ หรืออัยการตั้งแต่ชั้น 3 ถึง 4
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันกับข้าราชการประจำ
- ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือ ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า
- ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ที่มียศตั้งแต่ พลโท พลเรือโท พลอากาศโท หรือพลตำรวจโท

บุคคลที่ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท
- ข้าราชการตุลาการหรืออัยการตั้งแต่ชั้น 5 ขึ้นไป
- พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกันกับข้าราชการ
- สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการเมืองหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- ให้ผู้ที่ขอทำสัญญาประกัน แสดงบัตรประจำตัวต่อพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบพิจารณาอนุญาต
- ในกรณีจำเป็น เพื่อทราบเกี่ยวกับสถานะ ระดับ อัตราเงินเดือน หรือภาระผูกพันอื่นใด อาจให้ผู้ยื่นประกันตัวแสดงหนังสือรับรองจากต้นสังกัดและภาระผูกพันนั้นด้วย



แต่ละคดีหรือข้อหาใช้หลักทรัพย์ประมาณเท่าไหร่กัน
เราจำเป็นที่จะต้องทราบ ราคาหลักทรัพย์ประกันตัวที่ใช้ในการประกัน ให้กับผู้ต้องหา ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น แต่ถ้าหากเราต้องการทราบข้อมูลที่ชัดแจ้งชัดเจน จำเป็นที่จะต้องติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในชั้นพนักงานสอบสวนหรือติดต่อที่ศาลที่คดีนั้นดำเนินการ เพื่อจะได้ทราบตัวเลขที่แท้จริง แล้วจะได้ดำเนินการกันต่อไป เพราะว่ามันยังมีขั้นตอนการดำเนินงานที่เราจะต้องจัดการต่อไปอีกหลายอย่าง เรื่องราคาเช่าหลักทรัพย์ที่ต้องใช้ เพื่อรับประกันตัวผู้ต้องหานั้นเป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้น เป็นโจทย์ข้อแรก

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

Case Study คดีลักทรัพย์

เรื่องคดีลักทรัพย์มี case study มาเล่าให้ฟัง สมมุติว่าท่านทำงานอยู่ที่ไซด์งานก่อสร้าง การก่อสร้างมันก็ต้องมีเศษวัสดุเหลือใช้ และเตรียมเอาไปทิ้ง หรือขายเป็นเศษวัสดุ อะไรก็ตาม ถ้าท่านอยากได้เศษวัสดุเหล่านั้น(ซึ่งมันไม่ได้ทีค่าอะไรมากมาย) ท่านจะต้องขออนุญาต เจ้าของ หรือผู้จัดการโครงการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะถ้าท่านหยิบเศษวัสดุนั้นออกมาเฉยๆ ทางเจ้าของโครงการอาจแจ้งความว่า ท่านลักทรัพย์ได้ ข้อหาลักทรัพย์ก็มีความผิดทางกฎหมาย มีบทลงโทษเขียนไว้ชัดเจน  เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ความร้ายแรงของโทษจะขึ้นอยู่ที่ว่าลักทรัพย์กลางวัน หรือลักทรัพย์กลางคืน หรือโดยมียานพาหนะด้วยหรือเปล่า เห็นไหมว่าเป็นคดีความนั้น ง่ายนิดเดียว เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยที่คาดคิดไม่ถึง เกิดขึ้นโดยที่บางครั้งท่านเองก็งงเหมือนกันว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เราเองในฐานะผู้ซึ่งทำงานในวงการ บางครั้งยังตกใจเลยว่ามันเกิดขึ้นมาได้ยังไง ทั้งทั้งที่เรื่องไม่น่าจะเกิด  แต่หากมีกฎหมายเขียนไว้ก็ต้องว่ากันตามกฎหมาย เราไม่ต้องการให้ท่านก็ต้องเดือดร้อน มา เช่าหลักทรัพย์ประกันตัว ผู้ต้องหา อีก เสียเงินโดยใช่เหตุ
หากต้องการใช้บริการ โทร 081-189-5861

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทสั่งลา

ท้ายที่สุดนี้ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหนก็ ตามหากว่ายังอาศัยอยู่ในประเทศไทย ท่านมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติตนตามกฎระเบียบกฎหมายของประเทศไทย วันหนึ่งหากท่านนั้นได้ต้องไปอาศัยอยู่ต่างประเทศท่านมีความจำเป็นที่จะต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างไปจากของประเทศไทยก็ได้ เพราะหลักฐานของแต่ละประเทศนั้นมีประวัติความเป็นมาแตกต่างกัน นั่นย่อมทำให้มีการใช้กฎหมายหลายระบบบ้างเป็นระบบ Civil Law บางเป็นระบบ Common Law เป็นต้น และรายละเอียดในตัวบทกฎหมายย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม หรือความเป็นมา หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเทศเพราะกฎหมายที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดขึ้นมาเพื่อ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมของประเทศนั้น

หากคิดจะเป็นพลเมืองดีจึงต้องทำใจปฏิบัติตนตามกฎหมาย และโดยทั่วไประบบกฎหมายกำหนดประเทศไทยโดยหลักจะเป็นระบบกล่าวหา แต่ในบางศาลอาจจะเป็นระบบไต่สวน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ให้เกิดความยุติธรรมหรือเป็นธรรมมากที่สุด กับคู่กรณีทุกฝ่าย ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อันนี้พูดถึงในหลักการ ส่วนในความเป็นจริงอันนั้นก็แล้วแต่จิตใจมนุษย์ผู้ปฏิบัติงาน ตามกฎเกณฑ์ที่มนุษย์เองคิดขึ้นมาคิดตามกฎหมายนี้เมื่อตกเป็นผู้ต้องหา อย่าวิตกกังวลใจจนเกินไป ให้พยายามหาทางแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วนที่สุด คือเรื่องการประกันผู้ต้องหา ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อย ส่วนเรื่องคดีความจะรับสารภาพหรือปฏิเสธข้อกล่าวหาค่อยว่ากันอีกทีในชั้นศาล

ในเรื่องการเช่าหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหานั้น ในแต่ละประเทศก็จะมีกฎเกณฑ์แตกต่างกันออกไป ในบางประเทศมีการดำเนินคดีที่มีความรวดเร็วเนื่องจากมีคดีความกันน้อย ย่อมแตกต่างกับประเทศที่มีคดีความเป็นจำนวนมาก และในคดีประเภทเดียวกัน มีราคาในแต่ละประเทศ ราคาเช่าหลักทรัพย์ที่ใช้แตกต่างกันออกไป เช่น ข้อหาฆ่าคนตาย ในเมืองไทยใช้ 500,000 บาท แต่หากเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา อาจจะตกหลายล้านบาทก็ได้ ย่อมแตกต่างกันออกไป อันนี้ตัวผู้ต้องหาหรือญาติควรสอบถามหลักทรัพย์ที่ใช้ ว่าใช้กี่บาทกับศาลซะก่อน

หาเช่าหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหายากเหลือเกิน

หา หลักทรัพย์มาเช่าประกันตัว ให้กับผู้ต้องหายากเหลือเกิน ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร บางคดีเขาไม่รับกันด้วย สงสัยกลัวจำเลยหนีมั้ง อีกอย่าง คดีเกี...